Blog

อุปกรณ์ที่ใช้ไล่นก มีกี่แบบ แต่ล่ะแบบนั้นนำมาใช้กับการไล่นกอย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่า นกตัวเล็กๆที่เป็นสัตว์ร่วมโลกของเรานั้น ในบางครั้งก็สามารถสร้างปัญหาใหญ่ๆให้เราได้เช่นกัน เช่น นกพิราบเร่ร่อน นกเอี้ยงอพยพ หรือกลุ่มนกกระจอกตัวเล็กๆ ดังนั้นเราจะหาวิธีไล่นกแบบใดจึงจะสามารถไล่นกและป้องกันนกเหล่านี้ที่อาจจะมาสร้างความเสียหายให้กับ บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั้งสนามบินได้ โดยที่เราไม่ต้องทำร้ายหรือฆ่านกและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตร่วมโลกทั้งคนและสัตว์

โดยทั่วไปปัญหาที่มากับนกนั้นก็นับว่าสร้างความเสียหายให้กับสินค้า อาคาร หรือแม้กระทั้งเครื่องจักร เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น

  • มูลของนกสร้างความสกปรกในพื้นที่โดยการถ่ายมูลของเสียออกมา ถ้านกเพียงแค่ตัวเองก็อาจจะพอเข้าใจได้ แต่ถ้านกที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมากๆแล้วนั้น คงจะประเมินค่าความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมได้มากเลยทีเดียว อาทิเช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับอาหาร การบริโภค ถ้ามีมูลนกในไลน์ผลิตสินค้าหรือคลังเก็บสินค้าแล้วนั้นคงไม่ต้องอธิบายว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะความเสียหายมีมูลค่ามากเหลือเกิน
  • มูลของนกเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่างๆมากมายหลากหลายชนิด
  • สร้างความรำคาญและความสกปรกให้กับคนในเขตที่อยู่อาศัย เขตชุมชน
  • สรา้งความสกปรกให้กับสายไฟฟ้า หม้อแปลง อาคารบ้านเรือน ลานกว้างต่างๆ

ดังนั้นจะมีอุปกรณ์ชนิดใดหรือวิธีใดบ้างที่จะมาช่วย แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ให้ดีที่สุดและได้ผลที่สุดโดยไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียกับชีวิตของนกและไม่รบกวนคน เรามาดูกันว่าจุดประสงค์ของอุปกรณ์ไล่นกแต่ล่ะแบบนั้นเหมาะกับการใช้งานกับพื้นที่แบบใดและจุดประสงค์ของอุปกรณ์ไล่นกแบบไหนที่เหมาะกับการป้องกันนกแบบใดได้บ้าง

1. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “ตาข่ายกันนก

  • จุดประสงค์ของการใช้ตาข่ายกันนก คือ ใช้เพื่อเป็นการปิดกั้นไม่ให้นกสามารถบินเข้าไปอาศัยอยู่ภายในอาคารหรือพื้นที่นั้นๆได้ โดยการใช้ตาข่ายปิดช่องว่างต่างๆเพื่อป้องกันนกบินเข้า-ออกได้ ช่องว่างหรือพื้นที่เข้า-ออก ของอาคาร เช่น ประตู-หน้าต่างทางเข้า-ออก ช่องว่างใต้หลังคา ช่องลม ระเบียง และอื่นๆ
  • ข้อควจคำนึง เมื่อมีการติดตั้งตาข่ายกันนกที่ผิดพลาด หรือมีการเปิดประตูทางเข้า-ออกของอาคารทิ้งไว้และทำให้นกมีโอกาศสามารถบินเข้าไปภายในอาคารได้แล้วนั้น การที่จะไล่นกทั้งหมดที่เล็ดลอดเข้ามาในอาคารให้ออกไปจากนอกอาคารได้ ก็จะสร้างความลำบากให้เช่นกันเพราะช่องว่างทั้งหมดถูกปิดจากตาข่ายไว้หมดแล้ว
  • ลักษณะของการใช้งาน ใช้เพื่อปิดกั้น ทางเข้าของนกจากภายนอกอาคาร

2. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “หนามกันนก

  • จุดประสงค์ของการใช้หนามกันนก คือ ใช้เพื่อป้องกันนกไม่ให้นกบินลงมาเกาะจุดใดจุดหนึ่งในเขตอาคารหรือพื้นที่นั้นๆได้ โดยการใช้หนามกันนก ติดตั้งตามโครงสร้างใต้หลังคา รั้วขอบไม้ขอบซีเมนต์ ท่อลำเลียงต่างๆ บริเวณที่เป็นคานไม้ คานปูน คานเหล็กต่างๆ โดยพื้นที่เหล่านี้นั้นไม่สามารถปิดกั้นนกโดยการใช้ตาข่ายกันนกได้ ดังนั้น จากข้อ 1. ที่กล่าวไปเกี่ยวกับ ตาข่ายกันนก เมื่อนกบินเข้ามาภายในอาคารได้แล้วนั้น นกก็จะหาที่เกาะตามคานเหล็ก คานปูนและโครงสร้างต่างๆ ของอาคารได้ ดังนั้นก็สามารถใช้หนามกันนกช่วยเสริมเพื่อไม่ให้นกที่บินเข้าไปภายในอาคารได้แล้วนั้น ไม่มีที่เกาะนกก็จะบินออกทางเดิมที่เข้ามาเอง
  • ข้อควจคำนึง หนามกันนกบางรุ่นนั้น ตรงยอดหนามกันนกที่มีลักษณะปลายแหลมคมอาจจะทำให้นกที่บินลงมาเกาะหรือนกที่บินมาชนกับปลายแหลมของยอดหนามเกิดบาดเจ็บหรือตายได้ อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้ เช่น กลิ่นเหม็นเน่าจากซากนกที่ตาย เชื้อโรคต่างๆที่จะตามมา และส่งกลิ่นเหม็นทำให้สัตว์กินซากอื่นๆให้เข้ามาในพื้นที่ได้
  • ลักษณะการใช้งาน ป้องกันไม่ให้นกบินลงมาเกาะได้ เฉพาะจุดที่ติดตั้งหนามกันนกไว้

3. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “เจลไล่นก

  • จุดประสงค์ของการใช้เจลไล่นก มีจุดประสงค์เดียวกันกับหนามกันนกแต่หลักการทำงานจะแตกต่างกัน คือ เจลไล่นก จะใช้สร้างความรำคาญให้กับเท้าของนก เช่น เมื่อทาเจลไล่นกไว้ตรงคานเหล็กที่โครงสร้างใต้หลังคาของอาคาร เมื่อนกบินลงมาเกาะที่คานเหล็กจุดที่ทาเจลไล่นกเอาไว้แล้ว เท้าของนกจะไปสัมผัสกับเจลไล่นกและนกจะเกิดการระคายเคืองที่เท้าหรือสร้างความรำคาญให้กับเท้าของมัน เมื่อมันมาเกาะแล้วเกิดความรำคาญไม่สบายเท้า นกก็จะบินออกไปจากที่ตรงนั้น
  • ข้อควจคำนึง ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีฝุ่นคลุ้งอาจจะทำให้ฝุ่นเกาะที่ตัวเจลไล่นกทำให้ประสิทธิภาพของตัวเจลไล่นกลดลงได้ และอาจจะสร้างความสกปรกให้กับจุดที่ทาเจลและพื้นที่โดยรอบได้ เนื่องจากเจลที่ติดไปกับเท้าของนก หรืออาจส่งผลโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารได้ รวมทั้งสภาพอากาศอุณหภูมิ น้ำ หรือการซะล้างของน้ำฝนอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของเจลไล่นกได้
  • ลักษณะการใช้งาน ใช้สร้างการระคายเคืองให้กับเท้าของนก เมื่อเท้าของนกสัมผัสกับเจลไล่นก

4. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “เครื่องเสียงไล่นก

5. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “คลื่นความถี่ไล่นก

6. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “ไฟกระพริบไล่นก

7. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “เสียงไล่นก

8. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “เลเซอร์ไล่นก

9. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “หุ่นจำลองไล่นก

10. อุปกรณ์ไล่นกที่เรียกว่า “แผ่นสะท้อนแสงไล่นก